ลดความร้อนใต้หลังคา ด้วย 6 ฉนวนกันความร้อน แบบไหนดีที่สุด
ฉนวนกันความร้อนหลังคา ผ้า ผนัง คืออะไร
ฉนวนกันความร้อน คือ วัสดุที่ใช้ป้องกันไม่ให้ความร้อนผ่านจากด้านหนึ่งสู่อีกด้านหนึ่ง โดยมักจะติดไว้ใต้หลังคา บนฝ้า หรือในผนัง ฉนวนกันความร้อนหลังคาจึงมีหน้าที่
1.สะท้อน2. ดูดซับกักเก็บความร้อน
ลองนึกภาพตามกันนะคะ ในเดือนเมษายาน แสงอาทิตย์ส่องมาที่หลังคาของเรา ซึ่งหลังคาของเราจะเป็นอะไรก็ตาม ในที่นี่ขอยกตัวอย่างเมทัลชีท เมทัลชีทคือโลหะเมื่อเจอความร้อนจากความร้อนขณะนั้นอาจเป็น 42 องศา ลงทาที่เมทัลชีทคือ 52 องศา หากบ้านเราไม่มีฉนวนดูดซับความร้อน 52 องศาจะถูกส่งมาที่บ้าน หรือ สถานที่ข้างใน ลองคิดถึงความเป็นจริง เราอาจจะรู้สึกเหมือนเตาอบ การใช้ฉนวนมีมานานมากหลักร้อยปีทั่วโลกที่ยุโรปเริ่มใช้ก่อนเพราะอาศหนาวเย็นใช้ฉนวนในการดูดซับความเย็น ส่วนในเมืองไทยสมัยก่อนที่เราเห็นๆกันคือมุงหลังคาด้วยใบจากซึ่งถือว่าเป็นฉนวนธรรมชาติ ข้อดีคือหาง่ายในท้องถิ่น ข้อเสียคือไม่ทนทานต้องเปลี่ยนตลอด ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้ฉนวนหลายประเภท
ผู้ผลิตก็แข่งกันผลิตมาให้ตอบโจทย์โรงงาน อาคาร บ้าน ที่อยู่อาศัย มีหลายหลายฉนวนกันความร้อน แต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป
- อะลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil) ดีบุกถูกแทนที่ด้วยอะลูมิเนียมเป็นครั้งแรกในปี 1910 เมื่อมีการเปิดโรงงานรีดอลูมิเนียมฟอยล์แห่งแรก Dr. Lauber, Neher & Cie. ในเมือง Emmishofen ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ข้อดีคือ น้ำหนักเบา ไม่อมหรือกักความร้อน ทนทานต่อฝุ่น น้ำ ความชื้น ไม่ก่อให้เกิดความชื้นและเชื้อรา ใช้เป็นตัวสะท้อนความร้อนได้ดีมาก ในปัจุบันยิยมใช้อลูมิเนียมฟอยล์เป็นฉนวนสะท้อน ควบคู่กับฉนวนตัวอื่นๆ
- พอลิยูรีเทนโฟม (PU Foam)เป็นฉนวนป้องกันความร้อน-เย็น ที่เกิดจากสารประกอบที่มีหมู่ของ Hydroxyl group (Polyol) กับ Dimethyl dissocyanate โดยการพ่นให้รวมตัวกัน เป็นโฟม ซึ่งมีโครงสร้างเป็นเซลล์ปิด (Closed Cell) ที่ชิดติดกันของโฟมแบบแข็งอยู่มากกว่า 90% ต่อปริมาตร จึงทำให้การดูดซึมนํ้า และไอนํ้าตํ่า ภายในเซลล์มีส่วนประกอบของก๊าซฟลูออโรคาร์บอนซึ่งมีสภาพการนำความร้อนตํ่ากว่าอากาศ จึงทำให้สามารถลดความร้อนได้ดี ในขณะเดียวกันยังสามารถลดความดังของเสียงด้วยฉนวนโพลียูรีเทนโฟม (Rigid Polyurethane Foam) ติดตั้งโดยวิธีฉีดพ่นไปยังวัตถุ เช่น โลหะ ไม้ อิฐ คอนกรีต กระเบื้อง แก้ว พลาสติก แล้วจะยึดติดเป็นเนื้อเดียวกับวัสดุสามารถกำหนดความหนาของเนื้อโฟมได้ตามความต้องการเหมาะสำหรับติดตั้งใต้หลังคา บนหลังคา ใต้พื้นอาคาร อุตสาหกรรมห้องเย็น หรืออุตสาหกรรมที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิ ฯลฯ
- ฉนวนใยแก้ว (Fiberglass) ฉนวนใยแก้วเป็นวัสดุอันตรายเช่นเดียวกับใยหิน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว วัสดุใยหินประกอบขึ้นจากเส้นใยที่มีโครงสร้างเป็นรูปดาวและมีขนาดเล็กกว่า 3 ไมครอน ซึ่งเป็นขนาดที่มนุษย์สามารถสูดเข้าไปในปอดได้ ใยหินจึงถูกจัดเป็นวัสดุอันตรายที่เป็นสารก่อมะเร็ง แต่สำหรับฉนวนใยแก้วของ SCG จะมีลักษณะโครงสร้างเป็นท่อนทรงกระบอกที่มีขนาดประมาณ 7 ไมครอน ซึ่งใหญ่เกินกว่าจะเข้าไปในถุงลมปอด นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ฉนวนใยแก้วในท้องตลาด ที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ โดยเฉพาะสถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติ (IARC) ขององค์การอนามัยโลก ซึ่งได้จัดให้ใยแก้วอยู่ในกลุ่ม “วัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง” เป็นต้น ดังนั้นฉนวนใยแก้วจึงเป็นมิตรต่อสุขภาพและยังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางทั้งในยุโรป อเมริกา และอีกหลายประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ การใช้ฉนวนใยแก้วยังมีข้อดีเรื่องความปลอดภัยอีกอย่างหนึ่งคือ เป็นวัสดุที่ไม่ลามไฟ จึงปลอดภัยต่อการใช้งาน ทั้งในอาคารทั่วไปและที่พักอาศัย อย่างไรก็ตาม วัสดุใยแก้วเองก็มีโอกาสทำให้ผิวหนังคันระคายเคืองได้บ้าง โดยเฉพาะคนที่มีอาการแพ้วัสดุประเภทเส้นใยควรเลี่ยงการสัมผัสใยแก้วโดยตรง เช่น เลือกใช้ฉนวนกันความร้อนใยแก้วที่มีฟอยล์หุ้ม หรือหากต้องทำงานกับวัสดุใยแก้วโดยตรงก็ควรแต่งกายมิดชิดและใส่ผ้าปิดจมูก ซึ่งในปัจจุบันนี้ ฉนวนใยแก้วส่วนใหญ่จะถูกห่อหุ้มด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์จนมิดชิด จึงไม่มีการก่อความระคายเคืองแก่ผู้บริโภคอีกต่อไป ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสารก่อมะเร็ง
- พอลิเอทิลีน บับเบิลฟอยล์ (Polyethylene Bubble Foil)
- พอลิเอทิลีนโฟม (PE Foam) คือฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น ผลิตจากโพลีเอทิลีนซึ่งเป็นโพลิเมอร์ที่ได้รับความนิยมเพราะเป็นพลาสติกที่มีน้ำหนักเบา โครงสร้างฉนวนแข็งแรง เหนียว ทนทานต่อแรงกระแทก มีอายุการใช้งานยาวนาน ที่สำคัญคือมีราคาถูก สามารถนำมาใช้เป็นฉนวนใต้แผ่นหลังคาเมทัลชีทได้ ติดตั้งง่ายและมีความยืดหยุ่นสูงจึงเข้ากับลอนหลังคาเมทัลชีทได้พอดี
- โพลีสไตรีนโฟม (PS Foam หรือ EPS Foam) ฉนวนกันความร้อน EPS Foam (Expanded Polystyrene) หรือ ผนังโฟม EPS อ่านว่า พอลิสไตรีน โฟม หรือ PS Foam คือ คือ โฟม PS ที่ใช้ก๊าซ Pentane (C5H12) ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับก๊าซหุงต้ม หรือ Butane (C44H10) เป็นสารที่ทำให้ขยายตัว (Blowing Agent) ในระหว่าง กระบวนการผลิต วัตถุดิบที่เรียกว่า Polymerization เนื้อพลาสติก PS จะทำ ปฏิกิริยากับก๊าซ Pentane เอาไว้ภายในเมื่อนำมาผลิต โฟม EPS วัตถุดิบจะขยายตัว และเมื่อได้รับความร้อนใจจาก ไอน้ำ (Steam) ก็จะกลายเป็นเม็ดโฟม ขาว ๆ จากนั้นจึงนำไปขึ้นรูป (Molding) ข้อมูลเพิ่มเติม
- ฉนวนเยื่อกระดาษ (Cellulose Fiber) เซลลูโลสถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2381 โดยนักเคมีชาวฝรั่งเศส Anselme Payen ซึ่งแยกมันออกจากพืชและกำหนดสูตรทางเคมีของเซลลูโลส
Comments
Post a Comment